สภาพทั่วไป/ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

๑. สภาพทั่วไป

          ๑.๑ ที่ตั้งและอาณาเขต

                    ตำบลภูหอ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอภูหลวง  ห่างจากที่ว่าการอำเภอภูหลวง  ประมาณ  ๓  กิโลเมตร  มีพื้นที่ทั้งหมด  ๑๐๒  ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  ๖๓,๐๒๐  ไร่

                     ทิศเหนือ          ติดต่อกับตำบลทรายขาว  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย

                     ทิศใต้             ติดต่อกับตำบลแก่งศรีภูมิ  อำเภอภูหลวง  จังหวัดเลย

                     ทิศตะวันออก    ติดต่อกับตำบลหนองคันและตำบลห้วยสีเสียด  อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย

                     ทิศตะวันตก      ติดกับตำบลเลยวังไสย์  อำเภอภูหลวง  จังหวัดเลย

          ๑.๒  ภูมิประเทศ

                    ตำบลภูหอ  มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และที่ราบเชิงเขา  ภูเขาที่สำคัญก็คือ  ภูหอ  มียอดเขาที่เกิดจากการหักเลื่อนของแนวเขา  ทำให้มีลักษณะของที่ราบล้อมรอบด้วยหน้าผาสูงชัน    บริเวณสูงสุดอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล  ซึ่งเป็นเทือกเขาภูหลวง  (สูง  ๑,๑๐๐  เมตร)  เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  และลาดต่ำลงไปทางทิศตะวันออกกับทิศใต้และทิศเหนือเป็นบางส่วน โดยเฉลี่ยตำบลภูหอตั้งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ  ๒๘๐  เมตร

๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ

          เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้ภูเขา  ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้  และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลแบ่งออกเป็น  ๓  ฤดู  คือ

          – ฤดูร้อน  อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์  –  เดือนเมษายน อากาศแห้งแล้ง  ร้อนจัด  และมีลมพัดแรง

          – ฤดูฝน  อยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม  –  เดือนกันยายน  ฝนตกชุกปานกลางซึ่งมีฝนในลักษณะที่ไม่ตกต้องตามฤดูกาล  บางปีก็ทิ้งช่วงสลับกับมีลมพายุเป็นครั้งคราว 

          – ฤดูหนาว  อยู่ระหว่างเดือนตุลาคม  –  เดือนมกราคม  อากาศหนาวจัดและแห้ง  กับมีลมพัดแรงในบางครั้ง

          อุณหภูมิของตำบลภูหอโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปี  ประมาณ  ๒๕.๙ องศาเซลเซียส  สูงสุดวัดได้ในเดือนเมษายน เฉลี่ยประมาณ  ๒๘.๙ องศาเซลเซียส  และต่ำสุด  วัดได้ที่เดือนมกราคม  เฉลี่ยประมาณ  ๒๑.๗  องศาเซลเซียส  ปริมาตรน้ำฝนโดยเฉลี่ยทั่วไปประมาณ  ๑,๑๓๖.๗๑  มิลลิเมตร  โดยเดือนที่มีฝนตกมากที่สุด  คือ  เดือนพฤษภาคม 

๑.๔  ลักษณะของดิน

          พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดกับภูเขา  ลักษณะของดินจะเป็นดินเหนียวและดินเหนียวปนทราย  ส่วนใหญ่ปลูกข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย

๑.๕  ลักษณะของแหล่งน้ำ

          พื้นที่ส่วนมากเป็นที่ราบสูง  ใช้น้ำฝนและใช้น้ำตามลำห้วย อ่างเก็บน้ำ และสระน้ำ

๑.๖  ลักษณะของไม้และป่าไม้

                     ลักษณะของไม้เป็นไม้ผลัดใบ  และพื้นที่ติดกับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า

๒.  ด้านการเมือง/การปกครอง

๒.๑  เขตการปกครอง

          เขตการปกครอง ๑๓ หมู่บ้าน  พื้นที่ประมาณ  ๖๓,๐๒๐  ไร่

หมู่ที่ชื่อหมู่บ้านชื่อตำแหน่งหมายเหตุ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓บ้านหนองบัว บ้านน้ำคู่ บ้านหนองบัวน้อย บ้านศรีอุบล บ้านวังมน บ้านหนองเขียด บ้านหนองอีเก้ง บ้านนาโพธิ์ บ้านนาฝาย บ้านน้ำค้อน้อย บ้านสามแยก บ้านศรีอุบล บ้านหนองบงนายยนต์มา  ชามนตรี นายเลิศ  กำมาทอง นายมณีชัย  ขวัญชอบ นายเชษฐา  ธรรมกุล นายชุมพล  กุนเสน นายบุญรักษ์  จำมะอุ นายศักดิ์พิรุณ นาสมพงศ์ นายอนงค์  กระเดื่อง นายบุญเกิด สุวรรณวาปี นางจารุวรรณ ขาวสวรรค์ นายสากล  อุทธบูรณ์ นายสุวิทย์  จำปานิล นายประเวช  เทวสัตย์ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำบลภูหอ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน– – – – – – – – – – – – –

                        ลำดับที่                        ชื่อ-สกุล                       ตำแหน่ง                       

                     ๑        นายประมวล คำทอง     ประธานสภาฯ            

                     2         นายยงค์ชัย ไชยคาม     รองประธานสภาฯ

                     3         นายท้าว ธรรมกุล         ส.อบต.ม.๑     

                     4         นายวิมล มีศรีแก้ว        ส.อบต.ม.๑                

                     5         นายระนอง มีศรีแก้ว      ส.อบต.ม.๒               

                     6         นางเพ็ญศรี  ธรรมกุล    ส.อบต.ม.๒               

                     7         น.ส. อรัญญา อุทธบูรณ์  ส.อบต.ม.๓               

                     8         นายสมภาร  ธรรมกุล    ส.อบต.ม.๔               

                     9         นางวงเดือน พันสอน     ส.อบต.ม.๔                         

                     10       นายไสว มีศรีแก้ว                   ส.อบต.ม.๕               

                     11       นางอัมพรรณ ทะเลรัตน์ ส.อบต.ม.๕               

                     12       นายสุบัญ พรหมทะลาย ส.อบต.ม.๖

                     13       นายจารย์  นวนขาว      ส.อบต.ม.๗     

                     14       นายสมเด็จ สุขคีรี         ส.อบต.ม.๗               

                     ๑5       นายอุทัย สายคำบ่        ส.อบต.ม.๘               

                     ๑6       นายคำเวียน ศรีบุตร      ส.อบต.ม.๘               

                     ๑7       นายเจริญ พันเงิน         ส.อบต.ม.๙                

                     ๑8       นายบุญรอง จั้นชัย        ส.อบต.ม.๑๐              

                     19       ว่าที่ร.ต.สุรศักดิ์ กุลเทียนประดิษฐ์          ส.อบต.ม.๑๑     

                     20       นายเจริญ ทุมศรี                    ส.อบต.ม.๑๒             

                     21       นายสุรพล อินนุชิต       ส.อบต.ม.๑๒             

                     22       นายพิเชฐ ศรีสุธรรม      ส.อบต.ม.๑๓             

                     23       นางละมุล หนานมะ       ส.อบต.ม.๑๓             

                     24       นางสาวรัชนีย์ ไพเมือง  เลขานุการสภาฯ         

          ๒.๒  การเลือกตั้ง

          เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ การปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนทุกคน จะทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองตนเองโดยตรง จึงต้องใช้ระบบตัวแทน โดยให้ประชาชนเลือกตั้งผู้แทนไปทำหน้าที่แทนตนเองแบบมีเงื่อนไขในระยะเวลาคราวละสี่ปี หากหากปฏิบัติหน้าที่ไม่ดีขาดประสิทธิภาพ ก็จะเลือกคนอื่นที่ดีกว่าในครั้งต่อไป

๓.  ประชากร

            ๓.๑  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

  – ประชากร  ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. ๒๕64

หมู่ที่ชื่อหมู่บ้านจำนวนครัวเรือนชายหญิงจำนวนประชากร
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13บ้านหนองบัว บ้านน้ำคู่ บ้านหนองบัวน้อย บ้านศรีอุบล บ้านวังมน บ้านหนองเขียด บ้านหนองอีเก้ง บ้านนาโพธิ์ บ้านนาฝาย บ้านน้ำค้อน้อย บ้านสามแยกพัฒนา บ้านศรีอุบล หนองบง271 181 159 186 90 158 195 145 115 66 183 129 124  493 296 301 257 98 315 279 266 195 108 225 261 245514 290 285 227 101 282 268 266 199 101 234 273 2191,019 564 562 506 188 597 532 531 384 205 454 538 470
รวม 2,๐023,2๘๒3,2596,5๔๑

          ๓.๒  ช่วงอายุและจำนวนประชากร

 หญิงชายช่วงอายุ
จำนวนประชากรเยาวชน๗๒๕  คน๗๒๙  คนอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี
จำนวนประชากร๒,๕๖๒  คน๒,๕๙๐  คนอายุ  ๑๘-๖๐ ปี
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ๕๑๖  คน๕๒๐  คนอายุมากกว่า ๖๐ ปี

๔. สภาพทางสังคม

          ๔.1 การศึกษา

                     – โรงเรียนประถมศึกษา                      4         แห่ง

                     – โรงเรียนมัธยมศึกษา                        1         แห่ง

                     – โรงเรียน/สถาบันชั้นสูง                      –         แห่ง

                     – ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน        13       แห่ง

          ๔.๒ สาธารณสุข

                     – สถานีอนามัยประจำหมู่บ้าน               1         แห่ง

                     – ศูนย์สุขภาพชุมชน                          1         แห่ง

                     – ร้านขายยาแผนโบราณ           –         แห่ง

                     – อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  100       แห่ง

๔.๓  อาชญากรรม

การก่ออาญากรรมในเขตพื้นที่ในความดูแลของ  องค์การบริหารส่วนตำบลภูหอ  อัตราการอาชญากรรม  ร้อยละสามต่อปี

๔.๔  ยาเสพติด

๔.๕  การสังคมสงเคราะห์

          กลุ่มชมรมผู้พิการตำบลภูหอ                2         กลุ่ม

          4.6 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

                     ภูหอและภูหลวง 

          4.7 มวลชนจัดตั้ง

                     – ลูกเสือชาวบ้าน                              1 รุ่น                420      คน

                     – ไทยอาสาป้องกันชาติ            1 รุ่น              510      คน

                     – กองหนุนเพื่อความมั่นคง        1 รุ่น     60       คน

                     – อปพร.                                         3 รุ่น  รวม      134             คน

                               รุ่นที่  1                     จำนวน            50       คน

                               รุ่นที่  2                     จำนวน            49       คน

                               รุ่นที่  3                     จำนวน            35       คน

๕.  ระบบบริการพื้นฐาน

          ๕.๑  การคมนาคมขนส่ง

                     ตำบลภูหอมีเส้นทางหลัก  ได้แก่  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2016  ติดต่อกับอำเภอภูหลวง  คือเส้นทางวังสะพุง – อำเภอหล่มเก่า  จังหวัดเพชรบูรณ์  และถนน รพช. ผ่านหนองเอี่ยน  นาฝาย  นาโพธิ์  เชื่อมกับถนน  รพช. สายโนนสว่าง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2016  เส้นทางหลักนี้  ราษฎรในตำบลภูหอใช้สัญจรไปมาติดต่อกับตำบลอื่น  และอำเภอภูหลวง  อำเภอวังสะพุง  และจังหวัดเลย

          ๕.๒  การไฟฟ้า

                     ระบบไฟฟ้าภายในตำบลภูหอ อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ซึ่งตำบลภูหอประมาณ  98%  มีไฟฟ้าใช้ในครัวเรือน  แต่อีก 2% ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  และยังมีไฟฟ้าใช้  ต้องปรับปรุง   

          ๕.๓  การประปา

                     ระบบประปาหมู่บ้าน                                    ๓๐          แห่ง

          ๕.๔  โทรศัพท์

                     – ตู้โทรศัพท์สาธารณะ                                  14          แห่ง

๖. ระบบเศรษฐกิจ

          ๖.1 การเกษตร 

                     ประชากรส่วนใหญ่ประมาณ  90%  ประกอบอาชีพในทางเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่  ได้แก่  การปลูกพืชไร่  เช่น  ข้าวโพด  มันสำประหลัง อ้อย  ข้าว ถั่วต่างๆ ปลูกไม้ผลยืนต้น  เช่น  มะขามหวาน  มะม่วง  ปัจจุบัน  รัฐบาลมีการส่งเสริมการปลูกยางพาราเกษตรกรมีความสนใจ  และได้มีการปลูกยางพาราบ้าง

๖.๒  การประมง

                     การประมงส่วนมากจะเป็นการเลี้ยงปลาเพื่อบริโภคเอง

๖.๓ การปศุสัตว์

                     ส่วนการเลี้ยงสัตว์นั้น  มักจะทำเป็นลักษณะการเลี้ยงควบคู่ไปกับการปลูกพืชไร่  ได้แก่  วัว  กระบือ  สุกร  เป็ดไก่  และปลา

                     ส่วนพื้นที่ทำนาเนื่องจากสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยจึงมีอยู่ประมาณ  5,983 ไร่  คิดเป็นร้อยละ  9.5 ของพื้นที่ทั้งหมด

๖.๔  การบริการ

 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

           – ปั้มน้ำมันและก๊าซ                                     4         แห่ง

           – โรงสี                                                     13       แห่ง

           – ร้านขายสินค้าทั่วไป                                  47       แห่ง

           – ฟาร์มเลี้ยงสัตว์                                        3         แห่ง

           – โรงน้ำแข็ง                                              2         แห่ง

           – ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์                            9         แห่ง

             –  รีสอร์ท                                                 4         แห่ง

           – โรงอิฐบล๊อก                                            2         แห่ง

          –  โรงรีดแผ่นอลูซิ๊งค์                                     ๒        แห่ง

 – ร้านซ่อมรถยนต์                                       2         แห่ง

           – ร้านเสริมสวย/ตัดผม                                 8         แห่ง

           – โรงกลึงเหล็ก                                           1         แห่ง

           – บ้านเช่า                                                 6         แห่ง

           – คลินิก                                                   4         แห่ง

– ร้านอาหาร                                              6         แห่ง

           -คาร์แคร์                                                  3         แห่ง

           -ร้านขายโทรศัพท์                                      3         แห่ง

           – ร้านถ่ายเอกสาร                                       2         แห่ง

           – ร้านตัดผ้า                                              2         แห่ง

           – ร้านขายยา                                             2         แห่ง

           – ร้านเกมส์                                               5         แห่ง

           – รับทำ พรบ.                                            3         แห่ง

           – ร้านเนื้อย่าง                                            2         แห่ง

๖.๕  การท่องเทียว

            พื้นที่ส่วนมากติดกับภูเขาจึงไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมาตรฐาน

                     – ภูหอ           

– น้ำตกไคร้โจ่งโด่ง       

– วัตถุโบราณ

                     – อ่างเก็บน้ำคู่  

– น้ำตกไคร้เพียงดิน     

– โครงการปลูกพืชอาหารช้าง

– ศาลตำนานพญาช้าง-นางผมหอม

– ภูหลวง

๖.๖  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

                      – ลูกเสือชาวบ้าน                              1 รุ่น                420      คน

                     – ไทยอาสาป้องกันชาติ                      1 รุ่น               510      คน

                     – กองหนุนเพื่อความมั่นคง                   1 รุ่น    60        คน

                     – อปพร.             3      รุ่น                   รวม              134      คน

                               รุ่นที่  1                     จำนวน            50       คน

                               รุ่นที่  2                     จำนวน            49       คน

                               รุ่นที่  3                     จำนวน            35       คน

                     – กลุ่มอาชีพ                          จำนวน            13             กลุ่ม

6.๗  แรงงาน

                     ประชาชนส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ  80  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่  ทำนา  ไร่อ้อย  ไร่ข้าวโพด  ปลูกพริก  และปลูกผัก ที่เหลือประกอบอาชีพรับจ้างและขายสลากกินแบ่งรัฐบาล

7.  ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

                     7.1  การนับถือศาสนา

                               – ตำบลภูหอประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

                     7.2  ประเพณีและงานประจำปี

                               – ประเพณีและงานประจำปีของชาวตำบลภูหอ  คือ  งานพญาช้าง-นางผมหอม

                     7.3  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น

                               – ชาวตำบลภูหอใช้ภาษาถิ่นคือ  ภาษาเลย

                     7.4  สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                               –  ผ้าตุ่ย

8.  เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

            8.๑  ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน

จากการประเมินสภาพปัญหาการใช้ที่ดินของตำบลภูหอ  ยังไม่มีปัญหามาก  เนื่องจากจำนวนประชากรต่อพื้นที่ยังไม่หนาแน่นมาก  ซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไปของชุมชนแบบชนบทประชากรมักจะตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายในพื้นที่เกษตร  และประชิดตามแนวถนนสายหลักในชุมชน  การใช้ที่ดินส่วนใหญ่ของตำบลภูหอ  จะต้องอยู่บริเวณภูหอ  หมู่ที่  1,2,3,4,5,6,7,11,12,13  เป็นต้น

สภาพโดยทั่วไปของตำบลภูหอ  ซึ่งเป็นชุมชนเกษตรกรจึงไม่ค่อยพบปัญหาของสภาพแวดล้อมมากนัก  แต่การคาดการณ์ในอนาคต  เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น  การอุปโภคบริโภคสินค้าและบริการย่อมมากขึ้น  ฉะนั้นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะต่าง ๆ  ที่จะตามมา  เช่น  ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล  น้ำเสีย  และฝุ่นละอองจะต้องเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

           ๗.๒  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

                    ๗.๒.๑ แหล่งน้ำธรรมชาติ

                      แหล่งน้ำธรรมชาติในตำบลภูหอ  มีแม่น้ำและลำธารที่สำคัญหลายสาย  ได้แก่

                     – แม่น้ำเลย  ไหลผ่านตำบลภูหอ มีพื้นที่ของตำบลที่ติดแม่น้ำประมาณ  2,000  ไร่

          – ห้วยน้ำคู่  ไหลผ่านบ้านน้ำคู่  ถึงบ้านหนองเขียด  มีพื้นที่ติดลำน้ำ  ประมาณ  400  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น

                     – ห้วยน้ำไคร้  ไหลผ่านพื้นที่บ้านหนองบัวน้อย  มีพื้นที่ติดลำน้ำประมาณ  200  ไร่ 

                    – ห้วยน้ำค้อน้อย  ไหลผ่านบ้านน้ำค้อน้อย  มีพื้นที่ติดลำน้ำประมาณ  40  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำเป็นบางช่วงเท่านั้น

                     – ลำห้วยเบือก  ไหลผ่านบ้านหนองอีเก้ง  มีพื้นที่ติดลำน้ำประมาณ  150  ไร่ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำเป็นบางช่วงเท่านั้น

                     – ลำห้วยเดื่อ  ไหลผ่านนาโพธิ์-นาฝาย  มีพื้นที่ติดลำน้ำประมาณ  1,000  ไร่   ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำเป็นบางช่วงเท่านั้น

                     – ลำห้วยโป่งเอียด  ไหลผ่านบ้านศรีอุบลหมู่ที่  4  มีพื้นที่ประมาณ  1,500  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำเป็นบางช่วงเท่านั้น

                     –  ลำห้วยไคร้แล้ง  ไหลผ่านบ้านหนองบัวน้อย  มีพื้นที่ประมาณ  1,500  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำเป็นบางช่วงเท่านั้น

                     –  ลำห้วยซำแคน  ไหลผ่านบ้านศรีอุบล หมู่ที่  4  มีพื้นที่ประมาณ  150  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  ส่วนในฤดูแล้งจะมีน้ำเป็นบางช่วงเท่านั้น

                     –  ลำห้วยปอแล้ง  ไหลผ่านบ้านวังมน มีพื้นที่ประมาณ 500  ไร่   ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน 

                     –  ลำห้วยปอ  ไหลผ่านบ้านวังมน  มีพื้นที่ประมาณ  400  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน  

                     –  ลำห้วยร่องเข  ไหลผ่านบ้านวังมน  มีพื้นที่ประมาณ  200  ไร่  ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน 

                     –  ลำห้วยส้ม  ไหลผ่านบ้านนาฝาย  มีพื้นที่ประมาณ  300 ไร่ ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เฉพาะในฤดูฝน 

          ๗.๒.๒  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                     – อ่างเก็บน้ำ  4  แห่ง  ได้แก่

          1.  อ่างน้ำคู่  (ตอนบน)  อยู่ที่บ้านน้ำคู่  หมู่ที่  2  ปริมาตรเก็บน้ำ  189,360  ลบ.ม.

          2.  อ่างเก็บน้ำห้วยไคร้แล้ง  อยู่ที่บ้านหนองบัวน้อย  มีพื้นที่ประมาณ  ไร่  มีพื้นที่รับ
ประโยชน์  ประมาณ  ไร่

          3.  อ่างเก็บน้ำหนองบัว  อยู่ที่บ้านหนองบัว  หมู่ที่  1  ปริมาตรเก็บน้ำ  0.071  ล้าน  ลบ.ม.

          4.  อ่างเก็บน้ำคู่(ตอนล่าง) อยู่ที่บ้านน้ำคู่  หมู่ที่  2  ปริมาตรเก็บน้ำ  1.42  ล้าน  ลบ.ม.

                     – บ่อโยก                                                   28          แห่ง

                     – ฝาย                                                      21          แห่ง  ได้แก่

                     1.  ฝายน้ำห้วยเหล่าหญ้าบ้านหนองบัว  หมู่ที่ 1  มีพื้นน้ำประมาณ  20  ไร่ 
มีพื้นที่รับประโยชน์  ประมาณ  30  ไร่
                     2.  ฝายห้วยลาด  บ้านหนองบัว  หมู่ที่ 1  มีพื้นที่น้ำประมาณ  15  ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ  30  ไร่

                     3.  ฝายห้วยลาดหญ้า  อยู่ที่บ้านหนองบัว  หมู่ที่ 1  มีพื้นที่น้ำ  3  ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์  300  ไร่

                     4.  ฝายลำน้ำคู่ อยู่ที่บ้านน้ำคู่ หมู่ที่ 2 ปริมาตรเก็บน้ำ 5,900 ลบ.ม.            

5.  ฝายน้ำล้นห้วยน้ำค้อ บ้านน้ำค้อน้อย หมู่ที่ 10 มีพื้นที่รับประโยชน์ 40 ไร่

                     6.  ฝายน้ำห้วยไคร้ อยู่บ้านหนองบัวน้อย หมู่ที่ 3 มีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 30 ไร่

7.  ฝายห้วยขวาหิน อยู่ที่บ้านวังมน หมู่ที่ 5 มีปริมาตรเก็บน้ำ 4,200 ลบ.ม.มีพื้นที่รับประโยชน์ ๘๐ ไร่

                     8.  ฝายน้ำล้นห้วยปอแล้ง บ้านวังมน หมู่ที่ 5 มีพื้นที่น้ำ  5 ไร่ มีพื้นทีรับประโยชน์  15  ไร่

          9.  ฝายลำน้ำคู่  อยู่ที่บ้านศรีอุบล  หมู่ที่  4  มีปริมาตรเก็บน้ำ 5,900 ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์ ๑๕๐ ไร่

10.  ฝายลำน้ำคู่  อยู่ที่บ้านหนองเขียด หมู่ที่  6  มีปริมาตรเก็บน้ำ  5,900 ลบ.ม.  มีพื้นที่รับประโยชน์ ๑๐๐ ไร่

11.  ฝายน้ำล้นแม่น้ำเลย  อยู่ที่บ้านหนองอีเก้ง  หมู่ที่  7  มีพื้นที่น้ำ 90   ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ 1,000 ไร่

12.  ฝายน้ำล้นห้วยน้ำค้อ  อยู่ที่บ้านหนองอีเก้ง  หมู่ที่  7  มีพื้นที่น้ำ 12 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์  500  ไร่

13.  ฝายห้วยโป่งเอียด  อยู่ที่บ้านศรีอุบล  หมู่ที่  4  มีพื้นที่น้ำ 5  ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ 100 ไร่

14.  ฝายห้วยเดื่อ  อยู่ที่บ้านนาโพธิ์-นาฝาย  หมู่ที่  8,9  มีพื้นที่น้ำ 15 ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน  300 ไร่

15.  ฝายห้วยซำแคน  อยู่ที่บ้านศรีอุบล  หมู่ที่  4  มีพื้นที่น้ำ 4 ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ 200 ไร่

16.  ฝายห้วยโป่งโก  อยู่ที่บ้านหนองบัว  หมู่ที่  1  มีพื้นที่น้ำ 2 ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์  200 ไร่

17.  ฝายห้วยซำจำปา อยู่ที่บ้านหนองบัวน้อย หมู่ที่ 3 มีพื้นที่น้ำ 5 ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ 100 ไร่

18.  ฝายห้วยขอนผึ่ง  อยู่ที่บ้านหนองบัวน้อย หมู่ที่ 3 มีพื้นที่น้ำ 3 ไร่ มีพื้นที่รับประโยชน์ 300 ไร่

19.  ฝายห้วยหนองนาคา อยู่ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 1 มีพื้นที่น้ำ 15 ไร่ มีพื้นที่รับประโยชน์ 400 ไร่

20.  ฝายห้วยหินปูน  อยู่ที่บ้านศรีอุบล  หมู่ที่  4  มีพื้นที่น้ำ 8 ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ 250 ไร่

21. ฝายกกค้อ  อยู่ที่บ้านศรีอุบล  หมู่ที่  4  มีพื้นที่น้ำ  7 ไร่  มีพื้นที่รับประโยชน์ 200 ไร่